วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

constructivism

ทฤษฎีการสร้างความรู้
ประวัติศาสตร์
ในศตวรรษที่ผ่านมาค่านิยมของแนวคิดนี้ไม่แพร่หลายนัก เนื่องจากมีความเห็นว่าการเล่นของเด็กไม่สำคัญ โดยเพียเจต์ไม่เห็นด้วยกับมุมมองนี้ เขาเห็นว่าการเล่นของเด็กเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาความรู้ความเข้าใจของเด็กและยังเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย
ทฤษฎีการสร้างความรู้
รูปแบบทฤษฎีการสร้างความรู้ของเพียเจต์ กล่าวว่า กลไกการเรียนรู้อยู่ภายในตัวผู้เรียนเอง โดยผู้เรียนจะสร้างความรู้ใหม่ได้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละบุคคลเมื่อแต่ละคนได้ซึมซับประสบการณ์ใหม่แล้วก็จะนำมารวมโครงร่างเดิมที่สร้างขึ้น แต่บางครั้งก็เกิดความล้มเหลวได้ เช่น ได้รับข้อมูลผิดๆ เกิดจากความบังเอิญ ไม่มีข้อสังเกต เป็นต้น
ธรรมชาติของผู้เรียน
Ø ผู้เรียนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ทฤษฎีนี้มองผู้เรียนแต่ละคนเป็นบุคคลที่ไม่ซ้ำกับความต้องการและภูมิหลัง และไม่ต้องการเพียงแค่ความเป็นเอกลักษณ์ ความซับซ้อนของผู้เรียนแต่ยังต้องสนับสนุน ให้ประโยชน์และผลตอบแทนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
Ø ความสำคัญของภูมิหลังและวัฒนธรรมของผู้เรียน
ผู้เรียนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางสังคมซึ่งจะต้องเรียนรู้ไปตลอดชีวิต และเน้นไปที่ปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนกับสมาชิกสังคม เด็กจะพัฒนาความสามารถในการคิดโดยมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่นๆ กับผู้ใหญ่และสิ่งแวดล้อม
Ø ความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้
Ø แรงจูงใจในการเรียน
โดยธรรมชาติแล้วผู้เรียนต้องการแรงจูงใจมากระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตนเอง เมื่อมีแรงกระตุ้นก็จะเกิดความมั่นใจและกล้าที่จะดึงความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวออกมา รวมทั้งหากมีการแข่งขันในชั้นเรียนก็จะช่วยเพิ่มพัฒนาการ ในการเรียนรู้ได้

บทบาทของผู้สอน
Ø ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก
ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก แนะนำ โดยผู้เรียนจะเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุดและความสำคัญของความรู้เดิมผู้เรียนจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กันกับ ครู ผู้สอน หรือสิ่งแวดล้อมที่จะไปกระตุ้นผู้เรียน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยชี้แนะแนวทางการคิดให้กับผู้เรียน นอกจากนี้การสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งกระตุ้นต่างๆ จะทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างเป็นความรู้ขึ้นในสมอง
ธรรมชาติของกระบวนการเรียนรู้
สังคมจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อเกิดการค้นพบหลักการแนวคิด การคาดเดา และหาข้อเท็จจริงด้วยตนเอง นักวิชาการอื่น ๆ เห็นด้วยกับการเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ และกับสภาพแวดล้อมที่พวกเขาอยู่ การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ไม่เพียงจะเกิดขึ้นภายในจิตใจแต่จะช่วยพัฒนา พฤติกรรมของเราที่แสดงออกมาภายนอกและการเรียนรู้ที่มีความหมายเกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
ผู้สอนและผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกันในการเรียนรู้จากกันและกัน วัฒนธรรมและประสบการณ์ความรู้เดิมเป็นส่วนสำคัญระหว่างผู้เรียนและการทำงานตามที่ครูให้ ผู้สอนและผู้เรียนเปรียบเสมือนเพื่อนเพื่อทดสอบการอยู่ร่วมกันในสังคม งานหรือปัญหาจึงเชื่อมต่อระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้เรียนและผู้สอนควรความตระหนักถึงมุมมองของกันและกันแล้วมองไปที่ความเชื่อของตัวเองและค่ามาตรฐานจึงเป็นทั้งผู้กระทำและเป้าหมายในเวลาเดียวกัน
ความร่วมมือระหว่างผู้เรียน
ผู้เรียนแต่ละคนจะมีความรู้เฉพาะตัวบุคคลแตกต่างกันความจำเป็นในการทำงานร่วมกันระหว่างผู้เรียนอาจเกิดความขัดแย้ง หนึ่งแนวคิด ที่มีผลสำคัญสำหรับความร่วมมือจากเพื่อนคือเข กำหนดเป็นระยะห่างระหว่างระดับพัฒนาการ พิจารณาจากการแก้ปัญหาและระดับของการพัฒนาศักยภาพตามที่กำหนดโดยการแก้ปัญหาภายใต้คำแนะนำผู้ใหญ่หรือร่วมกับเพื่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น